Open on Mon – Fri 09:00-17:00

TEL : 02-538-6996

facebook technicalbiomed
งานวิจัย PicoSure

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาปัญหาริมฝีปากดำคล้ำด้วย 755 nm. Picosecond Laser

งานวิจัย PicoSure

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาปัญหาริมฝีปากดำคล้ำ
โดยใช้ 755 nm. PicoSecond laser

นอกจากปัญหาริมฝีปากคล้ำที่เกิดจากเชื้อชาติหรือพันธุกรรมแล้ว ปัญหาริมฝีปากดำคล้ำที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยปัจจัยภายนอก หรือ “Physiologic Lip Hyperpigmentation” ยังถือเป็นปัญหาที่สร้างความกวนใจให้กับใครหลายคน ซึ่งในอดีตเคยมีการประยุกต์ใช้เลเซอร์อื่น ๆ ในการรักษามาก่อนแล้ว โดยที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายก็จะเป็นเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 532 และ 1064 นาโนเมตรเป็นหลัก ก่อนที่ภายหลังจะมีงานวิจัยเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยีใหม่ของโลกอย่าง Picosecond Laser ที่มีความยาวคลื่น 755 นาโนเมตร ก็สามารถตอบโจทย์ในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาปัญหาริมฝีปากคล้ำได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว แม้เลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 532 นาโนเมตร จะสามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้ แต่ก็มีความเสี่ยงในเรื่องของผลข้างเคียงอยู่บ้างพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเสี่ยงเบิร์น, สามารถทำให้เกิดการบวม, กระตุ้นเชื้อเริม, ก่อให้เกิดจุดด่างขาว (Hypopigmentation) และจุดด่างดำ (Hyperpigmentation) หรือแม้กระทั้่งก่อให้เกิดรอยดำหลังผิวหนังอักเสบ “Post Inflammatory Hyperpigmentation” (PIH) ได้ส่วนเลเซอร์ความยาวคลื่น 1064 นาโนเมตร แม้จะใช้ได้ดีในระดับนึง แต่ก็ยังไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจมากนักเมื่อเทียบกับ 532 และ 755 นาโนเมตร

โดยงานวิจัยจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์ วรพงษ์ มนัสเกียรติ แสดงให้เห็นว่า Picosecond Laser 755 นาโนเมตร ของ PicoSure® มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาปัญหาริมฝีปากดำคล้ำทางกายภาพที่เกิดจากปัจจัยภายนอก

จากการวิจัยในคนไทยทั้งหมด 20 คน ซึ่งทั้งหมดล้วนถูกปัจจัยภายนอกกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นการแพ้สารเคมี, แพ้ลิปสติก, สูบบุหรี่ หรือแม้กระทั่งปัจจัยจากแสงแดดที่กระตุ้นให้เกิดการผลิตเม็ดสีที่บริเวณริมฝีปากมากเกินปกติ โดยความยาวคลื่น 755 นาโนเมตรของ Picosecond Alexandrite Laser ซึ่งเป็นการผสมผสานการใช้ Flat Lens และ Focus Lens สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา Physiologic Lip Hyperpigmentation อย่างปลอดภัย

เกิดผลข้างเคียงน้อยและไม่รุนแรง นอกจากนั้นยังเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการวัดผลทั้งผ่านการใช้กล้อง Antera 3D, ดูค่าดัชนีชี้วัดเม็ดสี (Melanin Index) ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ , มีการเปรียบเทียบด้วยภาพถ่าย หรือแม้กระทั่งให้คนไข้ประเมินผลความพึงพอใจด้วยตนเอง ซึ่งก็ล้วนชี้ชัดว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพจริง ๆ จากการใช้ Picosecond Laser ในการรักษา

Share this post

IMCAS Asia 2022
News & Events
Technicalbiomed

IMCAS Asia 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงาน“IMCAS Asia 2022”วันที่ 29-30 กันยายน,

Read More »
ADAC IAS 2022
News & Events
Technicalbiomed

ADAC IAS 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงานประชุมเชิงปฏิบัติการ“ADAC IAS 2022”วัน

Read More »
Nano fractional RF รักษารอยแตกลาย

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ Nanofractional Radio Frequency เพื่อการรักษารอยแตกลาย

Paper Venus Viva

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ Nanofractional Radio Frequency เพื่อการรักษารอยแตกลาย

Striae distensae (SD) หรือผิวแตกลาย เป็นกลุ่มอาการทางผิวหนัง ที่มักเกิดจากการที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว การตั้งครรภ์ หรือการมีฮอร์โมนคอร์ติโคสเตรียรอยด์ที่สูง ผิวแตกลายสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ คือ Striae rubra และ Striae alba โดยวิธีการรักษารอยแตกลายมีหลากหลาย เช่น การใช้เรตินอยด์ การใช้สารเคมีในการลอกผิว หรือการทำ Microdermabrasion แต่ล้วนให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจเท่าที่ควร มีงานวิจัยบางงาน ใช้เทคโนโลยี Fractional laser photothermolysis รักษาปัญหาผิวแตกลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มักก่อให้เกิด Hyperpigmentation ในผู้ป่วยที่มีสีผิวเข้ม

ดังนั้นในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี fractional radiofrequency มาใช้เพื่อการรักษาผิว ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีพร้อมกับข้อจำกัดต่างๆ ที่ลดลง โดยได้รับการรับรองจาก US.FDA ด้านการฟื้นฟูผิว ยิ่งกว่านั้นเทคโนโลยีนี้ยังมีความแตกต่างจากการใช้เลเซอร์ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการจับกับโครโมฟอร์ จึงทำให้สามารถตอบโจทย์ในการรักษาได้ทุกสีผิว

เทคโนโลยีล่าสุดที่ได้พัฒนาเพื่อการฟื้นฟูผิวรูปแบบใหม่นี้ เรียกว่า Nanofractional radiofrequency (RF) มีการใช้เข็มขนาดเล็ก ทำหน้าที่ในการส่งพลังงาน RF ลงสู่ผิวหนังโดยตรงเพื่อให้เนื้อเยื่อผิวเกิดเป็นแผลขนาดเล็กสลับกับผิวที่ดี (Fractionation Technique) และด้วยพินที่มีขนาดเล็ก ทำให้อุปกรณ์นี้สามารถลดผลข้างเคียงต่างๆ พร้อมการฟื้นฟูผิวได้เร็วกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งมีงานวิจัยทางคลินิกจำนวนมากที่รับรองผลของการรักษา ในด้านต่างๆ เช่น รอยแผลเป็นจากสิว ริ้วรอย รวมถึงผิวที่เรียบเนียนขึ้น

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Nanofractional radiofrequency สำหรับการรักษาผิวแตกลาย โดยทำการทดลองกับอาสาสมัคร 33 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผิวหนังว่าเป็นผู้มีปัญหาผิวแตกลาย โดยแบ่งอาสาสมัครเป็นกลุ่มละ 11 คน ที่มีรอยโรคอยู่ที่บริเวณต้นขา, หน้าท้อง หรือ ก้น โดยทำการรักษาด้วยเทคโนโลยี Nanofractional RF (Venus Viva™) จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์

เก็บผลลัพธ์ โดยการถ่ายภาพ Before / After ด้วยกล้องดิจิตอลความละเอียดสูง (Olympus XZ10) จำนวน 4 ครั้ง ในช่วงก่อนการรักษา, สัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 หลังการรักษา นอกจากนี้มีการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกด้วย total lesional surface area โดยใช้ Pictzar™ software และมีการวัดขนาด ความกว้างของรอยแตกลายด้วย Capiler measurement

ร่วมกับการบันทึกความพึงพอใจของอาสาสมัคร สำหรับการเปลี่ยนแปลงของรอยโรค ในเรื่องของ Texture ผิว, ขนาด และการเปลี่ยนแปลงโดยรวม ด้วยเกณฑ์คะแนน 5 ระดับ ดังนี้ 1 = ไม่พอใจอย่างยิ่ง 2 = ไม่พอใจ 3 = ค่อนข้างพอใจ 4 = พึงพอใจ 5 = พอใจอย่างยิ่ง สำหรับการประเมินความพึงพอใจของแพทย์ผู้ทำการรักษา โดยการเปรียบเทียบภาพก่อนและหลังการทำทรีทเมนต์ จากแพทย์ผิวหนัง 2 ท่าน โดยใช้ clinical quartile rating scale ดังนี้ : 0 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 0-25% , 1 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 26-50% , 2 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 51-75% และ 3 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 75% ขึ้นไป

ซึ่งจากผลลัพธ์ที่ได้หลังการรักษาครั้งสุดท้าย 4 สัปดาห์ พื้นที่ผิวทั้งหมด ทั้งความกว้างและขนาดของผิวแตกลายมีความลดลงจาก baseline อย่างมีนัยสำคัญ (P <0.001) มีการรายงานพบการเกิด Post inflammatory hyperpigmentation (PIH) ในอาสาสมัคร 6 ราย และจากการศึกษาด้านจุลพยาธิวิทยา พบว่าเส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินมีความหนาแน่นมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ (P = 0.005 และ 0.012 ตามลำดับ) และอาสาสมัครมีความพึงพอใจในผลการรักษาอยู่ในระดับ 4 และ 5

 

ดังนั้นจากผลการศึกษาวิจัยฉบับนี้สรุปได้ว่า Nanofractional RF  สามารถรักษารอยแตกลาย Striae alba ได้อย่างปลอดภัยและให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง

Reference :

Napatthaorn P, Thep C, Suwirakorn O et al. An efficacy and safety of nanofractional radiofrequency for the treatment of striae alba, J Cosmetic Derm 2016; 0: 1-7

IMCAS Asia 2022
News & Events
Technicalbiomed

IMCAS Asia 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงาน“IMCAS Asia 2022”วันที่ 29-30 กันยายน,

Read More »
ADAC IAS 2022
News & Events
Technicalbiomed

ADAC IAS 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงานประชุมเชิงปฏิบัติการ“ADAC IAS 2022”วัน

Read More »